วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

มะม่วงหิมพานต์


มะม่วงหิมพานต์ 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale L.
ชื่อสามัญ : Cashew nut tree
ชื่ออื่น : กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง) ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสินหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) มะม่วงสิโห (เชียงใหม่) มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)
ส่วนที่ใช้ : ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด
สรรพคุณ :
• ยางจากผลสด ยางจากต้น - เป็นยารักษาหูด
• เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน
• ยางจากต้น
- ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต
- แก้เลือดออกตามไรฟัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
• ยางจากผลสด - ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย
• ยางจากต้นสด - ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย

ดีบัวหลวง

https://www.facebook.com/samunpai.DDherb
สมุนไพรดีดี ขายส่ง สมุนไพรพอกหน้า สมุนไพรแห้ง-บดผง
ดีบัว (บัวหลวง)
สุดยอดบำรุงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบ ลดเบาหวาน ลดความดัน (เหมาะกับผู้สูงวัยมากๆครับ)
***สรรพคุณและวิธีใช้ :ตำรายาไทย:
ใช้ แก้อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ การติดเชื้อในช่องปาก ลดความดันโลหิตช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ กรณีเส้นเลือดตีบ แก้กระหายน้ำ แก้กระหายหลังอาเจียนเป็นโลหิต แก้น้ำกามเคลื่อนขณะหลับ(ฝันเปียก)
***สรรพคุณของดีบัว
1 - ดีบัวมีสาร Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบในหัวใจเนื่องจากมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และช่วยบำรุงหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ดีบัวแห้ง 1 หยิบมือ นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้วปกติ แล้วใช้ดื่มในขณะที่ยังอุ่นๆ ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือจะปั้นเป็นเม็ดขนาด 0.5 กรัม ใช้กินครั้งละ 3-5 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ แถมยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ไข้และช่วยบำรุงร่างกายได้อีกด้วย (ดีบัว)
2- ช่วยผ่อนคลายความเครียด อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
3- ใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ก็มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ในกรณีที่เส้นเลือดตีบ (ดีบัว)
4- ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)
5- ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)
6- ใช้ดีบัวนำมาต้มเอาน้ำดื่มก็มีสรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำด้วยเช่นกัน และยังช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็นเลือดได้ด้วย (ดีบัว)
7- ช่วยบำรุงถุงน้ำดี (ดีบัว)

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

อ้อยแดง


อ้อยแดง เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา บำรุงธาตุน้ำ ครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
ชื่ออื่น : อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้น น้ำอ้อย ผิวของต้นอ้อย มี wax
***สรรพคุณ :
• ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
• ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
• น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ
• ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง
*****วิธีทำและปริมาณที่ใช้ :
ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

พิลังกาสา


ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย), ตีนจำ (เลย), ลังพิสา (ตราด), ทุรังกาสา (ชมพร), ราม (สงขลา), ปือนา (มลายู-นราธิวาส), พิลังกาสา (ทั่วไป), จิงจ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด, ทุกังสา, มาตาอาแย เป็นต้น
หมายเหตุ : ในพืชวงศ์เดียวกัน “พิลังกาสา” ยังเป็นชื่อพ้องของพรรณไม้อีกหลายชนิด เช่น พิลังกาสาชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia elliptica Thunb ซึ่งในชนิดนี้เราจะเรียกว่า “รามใหญ่” (มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับพิลังกาสามาก และยังมีสรรพคุณทางยาที่เหมือนกันหลายอย่าง และ พิลังกาสาอีกชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia colorata Roxb. ชนิดนี้โดยทั่วไปแล้วจะเรียกว่า “มะจ้ำก้อง”
ลักษณะของพิลังกาสา
• ต้นพิลังกาสา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของประเทศญี่ปุ่น และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินเดียภาคใต้[ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบ และมีประปรายอยู่ทั่วไปบ้างว่าพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง
สรรพคุณของพิลังกาสา
1. ผลสุกนำมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน หรือใช้ผง
ยา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำครึ่งแก้วดื่มช่วยบำรุงโลหิต (ผล)
2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ในกองอติสารโรค (ผล)
4. ใบมีรสร้อน สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
5. ใบใช้เป็นยาแก้ลม (ใบ)
6. ช่วยแก้ปอดพิการ (ใบ)
7. ใบและผล มีสรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ,ผล)
8. ดอกใช้เป็นยาแก้พยาธิ (ดอก)
9. รากใช้เป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ราก)
10. ช่วยแก้โรคระดูของสตรี ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน (ผล)
11. ใบใช้เป็นยารักษาโรคตับพิการ (ใบ)
12. รากใช้เป็นยาพอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด แก้พิษงู หรือใช้กากพอกแผล เอาน้ำกิน (ราก)
13. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ (เมล็ด, ผล)
14. ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
15. ต้นใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง (ต้น)
16. ต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน กุฏฐัง (ต้น) ส่วนผลใช้แก้โรคเรื้อน (ผล)

โคกกระออม


สมุนไพรดีดี ยาตำรับโบราณ
โคกกระออม
โคกกระออม ชื่อสามัญ Balloon vine, Heart pea, Heart seed, Smooth leaved Heart Pea
โคกกระออม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cardiospermum Halicacabum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE
สมุนไพรโคกกระออม ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ตุ้มต้อก (แพร่), วิวี่ วี่หวี่ (ปราจีนบุรี), โพออม โพธิ์ออม(ปัตตานี), เครือผักไล่น้ำ ลูกลีบเครือ(ภาคเหนือ), กะดอม โคกกระออม (ภาคกลาง), ติ๊นโข่ ไหน (จีน), เจี่ยขู่กวา เต่าตี้หลิง ไต้เถิงขู่เลี่ยน (จีนกลาง), สะไล่น้ำ, สะไล่เดอะ, สะโคน้ำ, สะไคน้ำ, หญ้าแมงวี่, หญ้าแมลงหวี่ เป็นต้น
ลักษณะของโคกกระออม
• ต้นโคกกระออม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชไปทั่วโลก ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค โดยจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาล้มลุกขนาดกลาง มีอายุราว 1 ปี ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก มีเถายาวประมาณ 1-3 เมตร มักเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้หรือตามกิ่งไม้ หรืออาจเลื้อยไปตามพื้นดิน ลักษณะของเถาเป็นเหลี่ยมมีสันประมาณ 5-6 เหลี่ยม และมีขนปกคุลมเล็กน้อย ผิวของเถาเป็นสีเขียว เถามีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ หรืออาจจะเล็กกว่านั้นก็มี และบริเวณข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มักเกิดขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ตามชายป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ริมทาง ตามริมน้ำ หรือบริเวณที่มีร่มเงา จนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร
สรรพคุณของโคกกระออม
1. ทั้งต้นมีรสขมและเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น โดยจะออกฤทธิ์ต่อตับและไต สามารถใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ได้ (ทั้งต้น)
2. ช่วยแก้พิษในร่างกาย (ทั้งต้น)
3. ช่วยทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
4. ดอกมีรสขมขื่น ใช้เป็นยาขับโลหิต (ดอก)
5. ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตให้ตก (ดอก)
6. ทั้งต้นใช้ต้มกินต่างน้ำ จะช่วยลดความดันโลหิตได้ (ทั้งต้น)
7. ใช้รักษาโรคดีซ่าน (ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้ตาเจ็บ (ใบ)
9. ทั้งต้นช่วยรักษาต้อตา (ทั้งต้น) น้ำคั้นจากรากสดใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาต้อ (ราก) หมอพื้นบ้านจะนำรากสดๆ มาคั้นกับน้ำสะอาดใช้หยอดตาแก้ตาต้อ แก้เจ็บตาได้ผลดี (ราก)
10. เมล็ดมีรสขมขื่น สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ (เมล็ด) , ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้ รักษาไข้จับ บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)
11. ช่วยแก้ไข้เพื่อทุราวสา แก้ปัสสาวะให้บริบูรณ์
12. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (เมล็ด) บ้างว่าใช้โคกกระออมทั้ง 5 นำมาต้มกินต่างน้ำก็ช่วยขับเหงื่อได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
13. ใบมีรสขมขื่น ใช้แก้อาการไอ รักษาโรคหืดไอ แก้ไอหืด ส่วนน้ำคั้นจากใบใช้แก้อาการไอ (น้ำคั้นจากใบ)
14. ทั้งต้นใช้ผสมกับตัวยาอื่น ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (ทั้งต้น) ส่วนน้ำคั้นจากใบสดก็มีสรรพคุณช่วยแก้หอบหืดเช่นกัน (น้ำคั้นจากใบ)
15. รากโคกกระออมมีรสขม มีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ราก)
16. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก) บ้างว่าใช้ทั้งต้นเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
17. ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
18. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด และใช้แก้นิ่ว โดยใช้ทั้งต้นนำมาต้มเป็นยาใช้กินต่างน้ำ (ทั้งต้น) หรือ ใช้แก้ปัสสาวะขัดเบา ให้ใช้โคกกระออม และใบสะระแหน่ อย่างละประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำ(ต้นแห้ง) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใบเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ)
19. ใช้ทั้งต้นนำมาต้มให้คนแก่ที่อาการต่อมลูกหมากโตใช้กินต่างน้ำเป็นยา จะช่วยลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ (ทั้งต้น)
20. ดอกมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ดอก)น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (น้ำคั้นจากใบ)
21. ผลมีรสขมขื่น มีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ผล)
22. ช่วยดับพิษทั้งปวง (ผล)
23. ช่วยดับพิษแผลไฟไหม้ แผลไฟลวก (ผล)
24. ใบสดใช้เป็นยาใส่แผลชั้นยอด โดยใช้น้ำต้มข้นๆ นำมาใช้ล้างแผล (ใบ)
25. ทั้งต้นใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู (ทั้งต้น) รากใช้ตำคั้นเอาแต่น้ำมากินเป็นยาแก้พิษงู ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาพอกแก้พิษงู พิษงูเห่า และพิษจากแมลง (ราก)
26. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น)
27. ใช้แก้ฝีบวม ฝีหนอง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้นสด) ส่วนใบสดก็สามารถนำมาตำพอกรักษาฝีได้เช่นกัน (ใบ)
28. แก้รัดฐาณฝีและถอดไส้ฝี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
29. ช่วยแก้อาการปวดบวมฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นโคกกระออมแห้งประมาณ 10-18 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้าใช้รับประทาน (ต้นแห้ง)
30. ใช้รักษาอาการอักเสบบวมตามต่างกาย โดยนำมาใบสดมาตำกับเกลือแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบบวม (ใบ)
31. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ทั้งต้น)
32. ช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำไปเคี่ยวกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาทาเช้าและเย็นติดต่อกันประมาณ 7 วัน อาการของโรครูมาตอยด์จะค่อยๆ ดีขึ้น (ใบ)
33. แพทย์แผนจีนจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับน้ำนม ทำให้เกิดน้ำนม และยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)
วิธีใช้สมุนไพรโคกกระออม
• วิธีใช้ ต้นแห้ง ให้ใช้ประมาณ 10-18 กรัม นำมาต้มกับน้ำประทาน
• วิธีใช้หากเป็นต้นสด ให้ใช้ประมาณ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน หรือใช้เป็นยาพอกภายนอก
***** ข้อห้าม สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ประโยชน์ของโคกกระออม
1. ในชนบทจะเรียกต้นโคกกระออมว่า “หญ้าแมงวี่” หากเด็กมีอาการตาแฉะหรือตาแดง ก็มักจะมีแมลงวี่มาตอมมา คนชนบทก็จะใช้เถาของต้นโคกกระออมรวมทั้งใบสดๆ ด้วย มาพันไว้รอบศีรษะ จะทำให้แมลงหวี่กลัวไม่กล้ามาตอมอีก (เถาและใบ)
2. ใช้เป็นยาสระผมกำจัดรังแค ด้วยการนำเถาโคกกระออมมาทุบคั้นแช่ในน้ำพอข้นๆ แล้วนำมาใช้ชโลมศีรษะและทิ้งไว้สักครู่ แล้วค่อยออก จะช่วยกำจัดรังแคได้ดีมาก
3. มีการนำยอดอ่อนโคกกระออมมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือเผาไฟ โดยยอดอ่อนจะมีรสขมเล็กน้อย ช่วยบำรุงสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความแก่ และช่วยในการต่อต้านมะเร็งได้อีกต่างหาก

สาวผิวสวยด้วย มะเขือเทศ


สมุนไพรดีดี ยาตำรับโบราณ
 มะเขือเทศ
สูตร-สาวผิวสวยด้วย มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.)
ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสดนำมาพอกหน้าจะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึง
สรรพคุณ สมานผิว ลดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ
ส่วนผสม
**มะเขือเทศ 1 ผล
**รำข้าวหรือข้าวโอ๊ต 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
นำมะเขือเทศไปปั่นหรือบดให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำผสมรำข้าวหรือข้าวโอ๊ตคนให้เข้ากัน
วิธีใช้
ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดหน้าให้แห้งพอกครีมมะเขือเทศทิ้งไว้นานเท่าที่มีเวลาแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ในมะเขือเทศมีวิตามินเอ มาก ซึ่งเป็น วิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำมัน การใช้รำข้าวหรือข้าวโอ๊ตเป็นส่วนผสม เพื่อให้น้ำมันในรำข้าวหรือข้าวโอ๊ตเป็นตัวพาวิตามินเอเข้าสู่เซลผิวหน้าได้ดีกว่า การฝานมะเขือเทศมาแปะหน้าเพียงอย่างเดียว สูตรนี้ใช้ได้ทั้งคนผิวแห้งและผิวมัน

สาวผิวสวยด้วย"มะขามป้อม"


สมุนไพรดีดี ขายส่ง สมุนไพรพอกหน้า สมุนไพรแห้ง-บดผง
มะขามป้อม
สูตร-สาวผิวสวยด้วย"มะขามป้อม"
บำรุงผิวพรรณ ผิวสวย สดใส สุขภาพผิวดี ด้วยพืชสมุนไพรสดจากธรรมชาติ 100%***ส่วนผสมของครีมสมุนไพรสด พอกหน้า-พอกตัว
• เนื้อมะขามป้อมโขลกละเอียด แล้วนำมาคั้นเอาเฉพาะน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
• น้ำผิ้งแท้ 2 ช้อนโต๊ะ
• นมสด 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำครีมสมุนไพรสด พอกหน้า-พอกตัว
• นำผล "มะขามป้อม" มาสัก 10 ผล ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด คั้นเอาน้ำจาก "เนื้อมะขามป้อม" นี้มาให้ได้ 2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำผึ้งแท้ผสมกับน้ำ "มะขามป้อม" คนให้เข้ากันดีแล้วใส่นมสดลงไปผสม คนให้เข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวกัน เตรียมไว้สำหรับพอกหน้า วิธีใช้ ใช้เวลาในการพอกหน้าประมาณ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำอุ่นตามด้วยน้ำเย็น ซับผิวหน้าให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง เพียงเท่านี้เอง และควรพอกหน้าสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง สูตรนี้ใช้ได้กับทุกสภาพผิว

ขี้เหล็ก


สมุนไพรดีดี ขายส่ง สมุนไพรพอกหน้า สมุนไพรแห้ง-บดผง
ขี้เหล็ก
ขี้เหล็ก - จิบเหล้าอย่างมีประโยชน์ ครับ
สูตร "ตำราแพทย์แผนโบราณ" แก้อาการท้องผูก อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร
วิธีใช้แก้อาการท้องผูก อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร
1- อาการท้องผูก ใช้ใบขี้เหล็ก ใช้ใบอ่อนและใบแก่ 4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการ
2- อาการนอนไม่หลับกังวล เบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัมหรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัมต้มเอาน้ำ รับประทานก่อนนอน
หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า ใส่เหล้าขาวพอท้วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ แล้วกรองกากยาออก ก็จะได้ยาดองเหล้าขี้เหล็ก ดื่มครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน

ฝรั่ง

สมุนไพรดีดี ยาตำรับโบราณ
ฝรั่ง
ฝรั่ง “ทั้งอร่อยและมีสรรพคุณดีครับ”
ฝรั่ง ชื่อสามัญ Guava ฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์Psidium guajava Linn.
ชื่อท้องถิ่น : มะมั่น,มะก้วยกา(เหนือ) บักสีดา(อีสวน) ย่าหมูยามู(ใต้) มะปุ่น(สุโขทัย,ตาก) มะแกว(แพร)
***สรรพคุณทางยา ใช้ใบแก่สดหรือลูกอ่อน รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมานแผล แก้ท้องเสีย
วิธีใช้
ใบแก่และลูกอ่อนของฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องเดินได้ผลดี ใช้เป็นยาแก้อาการท้องเสียแบบไม่รุนแรง “ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค” โดยใช้ใบแก่ 10-15 ใบปิ้งไฟแล้วชงดื่มรับประทาน หรือใช้ผลอ่อนๆ 1ผล ฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
ประโยชน์ของฝรั่ง
1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมากซึ่งช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยต่างๆได้ดี
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ปกป้องผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่างๆ
4. เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
5. ช่วยลดไขมันในเลือด
6. สรรพคุณของฝรั่งช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
7. ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
10. ช่วยป้องกันอาการผิดปกติของหัวใจได้
11. ใบฝรั่งใช้ในการดับกลิ่นปาก ด้วยการนำใบสด 3-5 ใบมาเคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง
12. ผลอ่อนช่วยบำรุงเหงือกและฝัน
13. ใบฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เหงือกบวม
14. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
15. รากใช้แก้อาการเลือดกำเดาไหล
16. น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง ช่วยรักษาอาการเสียงแห้ง แก้คออักเสบ
17. น้ำต้มใบฝรั่งสดช่วยรักษาอาการท้องเสีย ป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
18. ใบช่วยรักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
19. ชาที่ทำจากใบอ่อนใช้สำหรับรักษาโรคบิด
20. ผลสุกใช้ทานเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
21. ช่วยล้างพิษโดยรวมในร่างกาย
22. ใบช่วยแก้อาการปวดเนื่องจากเล็บขบ
23. ใช้ทาแก้ผื่นคัน แผลพุพองได้
24. ใบใช้แก้แพ้ยุง
25. ใบฝรั่งใช้รักษาบาดแผล
26. ใบใช้เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง ถอนพิษบาดแผล แก้พิษเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
27. รากใช้แก้น้ำเหลืองสี เป็นฝี แผลพุพอง
28. ใช้ในการห้ามเลือด ด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)
29. ช่วยในการดับกลิ่นสาบจากแมลงและซากหนูที่ตาย ด้วยการใช้ฝรั่งสุก 2-3 ลูกวางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่น กลิ่นดังกล่าวก็จะค่อยๆหายไป
30. การรับประทานฝรั่งจะช่วยขจัดคราบอาหารบนตัวฟันได้
31. เปลือกของต้นฝรั่งนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า
32. นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย พายฝรั่ง และขนมอีกหลากหลายชนิด
33. นำมาใช้ทำเป็นยาแคปซูลแก้ท้องเสียจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม

ใบชุมเห็ดเทศ กับ "สูตรโรคผิวหนังล้วนๆ"

https://www.facebook.com/samunpai.DDherb?ref=hl
ใบชุมเห็ดเทศ กับ "สูตรโรคผิวหนังล้วนๆครับ"

สูตร ยารักษาโรคผิวหนังต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน หรือมีอาการคันบริเวณหนังศีรษะ มีวิธีใช้อยู่หลายวิธี เช่น
***ให้นำใบมาต้มกับน้ำ แล้วใช้น้ำที่ต้มได้มาล้างผิวหนังบริเวณที่เป็น
***ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดหรือขยี้ใช้ถูทาบริเวณที่เป็นนานๆ และบ่อยๆ
***ใช้ใบประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำให้ละเอียดเติมน้ำมะนาวเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาวันละ 2-3 ครั้ง
***ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย ตำผสมกันนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนัง (ให้ขูดผิวบริเวณที่เป็นด้วยไม้ไผ่ที่ฆ่าเชื้อแล้วให้แดงก่อนทายา) โดยใช้ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วก็ให้ทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์
***ใช้ใบสดมาตำแช่กับเหล้า แล้วเอาส่วนของเหล้านำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดีนัก แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผมและเล็บ
***ใช้ใบผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำมัน หรือเกลือ ใช้ตำพอกรักษากลาก หรือโรคผิวหนัง
***ส่วนอีกวิธีให้นำใบมาตำหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำปูนใสทาหรือผสมกับวาสลิน ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา หรือจะใช้ครีมสารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศ 95% ด้วยเอทานอล ความเข้มข้น 20% นำมาทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้าและเย็น ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
***นอกจากนี้ในส่วนของผลหรือฝัก เมล็ด ราก ต้น และทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนด้วยเช่นกัน (ผล,เมล็ด,ราก,ต้น,ทั้งต้น)

ขอบชะนางแดง-ขาว

ขอบชะนางแดง-ขาว
สมุนไพรขอบชะนาง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น หญ้ามูกมาย (สระบุรี), ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว ขอบชะนางแดง หนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ภาคกลาง), หญ้าหนอนตาย (ภาคเหนือ), ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เปลือกมืนดิน เป็นต้น
สรรพคุณ : ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
► ต้นและดอก ใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาใส่ปากไหปลาร้าที่มีหนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
► ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
► เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักาษาโรครำมะนาด
► ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด(แดง-ขาว) นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน
► รากนำมาตำให้ละเอียดแช่กับน้ำ ตำใส่น้ำมันพืชให้ใส่ผสมจะช่วยฆ่าเหาได้
สรรพคุณของขอบชะนาง
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ใช้ผลแห้ง โดยใช้สูตรเดียวกับการรักษาอาการปวดท้อง)
ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นฟอง (ใช้ผลแห้ง โดยใช้สูตรเดียวกับการรักษาอาการปวดท้อง)
ยอดอ่อนที่แตกใหม่ นำมากลั่นด้วยไอน้ำ ใช้รักษาอาการปวดหูได้ (ยอดอ่อน)
ผลแห้งนำมาบดเป็นผง แล้วใช้ทายางๆ บริเวณจมูกหรือนำมาใช้อุดฟัน จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ผล)
เปลือกต้นนำมาต้มผสมกับเกลือเค็ม ใช้อมรักษาโรครำมะนาด (โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรอบๆ ฟัน หรือโรคเหงือกอักเสบ) (เปลือกต้น)
เหง้าอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหาร ใช้รับประทานช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้องได้ดี และยังช่วยขับลมในลำไส้ได้อีกด้วย (เหง้าอ่อน)
ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้เหง้าสด นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว แล้วผสมกับมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้ (เหง้าสด)
ช่วยรักษาอาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลขอบชะนางแห้งที่เอาเปลือกออก และพริกหาง ใส่เปลือกอบเชย แปะชุก ตังกุย แล้วนำมาคั่วและบดให้เป็นหยาบๆ โสม แล้วตัดส่วนหัวออก ให้ใช้อย่างละ 15 กรัม หู่จี้ แล้วคั่วให้แตกบดแบบพอหยาบๆ เปลือกส้ม 1 กรัม นำมาแช่กับน้ำและเอาใยสีขาวออก ชวงเจีย คั่วพอให้หอม 1 กรัม แล้วนำทั้งหมดมาบดรวมกันผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาเม็ดขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ใช้รับประทานร่วมกับน้ำขิงครั้งละ 30 เม็ด เมื่อเริ่มมีอาการ (ผลแห้ง)
ทั้งต้น นำมาปิ้งกับไฟแล้วชงกับน้ำเดือด ใช้เป็นยาขับพยาธิในเด็ก (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้เป็นยาขับพยาธิได้เช่นกัน (ใบ)
ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน (ต้นของขอบชะนางทั้งสอง)
เปลือกต้นนำมาหุงกับน้ำมันใช้ทาริดสีดวง (เปลือกต้น)
ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด นำมาปรุงเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนของสตรี ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาขับระดูขาวของสตรี (ต้นของขอบชะนางทั้งสอง)
ช่วยขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการใช้เหง้าสด นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว แล้วผสมกับมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้ (เหง้าสด)
ใบนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรี (ใบ)
ต้นมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ต้น)
ใบ ใช้เป็นยาทารักษากลาก (ใบ)
ใช้รักษาเกลื้อน ด้วยการนำเหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วจุ่มลงในเหล้าขาว ใช้ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนเช้าเย็น หรือจะใช้เหง้าแห้ง นำมาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาก็ได้ ส่วนดอกสดก็สามารถนำมาใช้ทารักษาโรคเกลื้อนได้เช่นกัน (เหง้า,ดอกสด)
ใบนำมาตำใช้พอกรักษาฝีและแก้อาการปวดอักเสบ (ใบ)
เปลือกต้น ใช้เป็นยารักษาพยาธิผิวหนัง (เปลือกต้น)
ช่วยแก้พิษต่างๆ (ขอบชะนางทั้งสอง)
ใบใช้เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อได้ (ใบ)
เปลือกต้น ใช้เป็นยาดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น (เปลือกต้น)
น้ำจากใบสดมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)
ข้อมูลจากศูนย์สมุนไพรทักษิณระบุว่าขอบชะนางทั้งสองมีสารที่ช่วยแก้โรคมะเร็งได้ (ขอบชะนางทั้งสอง)
ใบใช้รักษามะเร็งเพลิง รักษามะเร็งลาม (ใบ)

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม มาดูวิธีใช้กันนะครับ
สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง) เป็นต้น
วิธีใช้
► แก้เลือดกำเดา ใช้ต้นสด 30-60 กรัม (หรือต้นแห้ง หนัก 10-15 กรัม) ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
► แก้ดีซ่าน ใช้ต้นสด 120-240 กรัม ต้มกับเนื้อหมูพอประมาณ กินติดต่อกันนาน 4-5 วัน
► แก้ท้องมาน ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือตุ๋นกับเนื้อหมูรับประทาน
► แก้ขัดเบา ใช้ต้นสด15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
► แก้นิ่ว ใช้ต้นสด 90 กรัม ต้มกับเนื้อหมู 120 กรัม เติมน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ต้มเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ แบ่งไว้ดื่ม 4 ครั้ง
► แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ใช้ต้นแห้ง 6 กรัม แช่ในน้ำร้อน 300 ซีซี (ประมาณขวดแม่โขง) นาน 30 นาที รินเอาน้ำดื่ม หรือจะบดเป็นผงปั้นเม็ดไว้รับประทานก็ได้
► แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
► แก้ฝีบวมหรือฝีเป็นหนอง ใช้ต้นสด ตำผสมเกลือเล็กน้อย ละลายน้ำส้มสายชูพอข้นๆ พอก
► แก้ฝีฝักบัว ใช้ต้นสด 25 กรัม ใส่น้ำ 1 ขวด และเหล้า 1 ขวด ต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำ เอาน้ำล้างหัวฝีที่แตก

มะขามป้อม

มะขามป้อม
เรามาแปรรูป"มะขามป้อม"กันนะครับ
1 -ยาแก้ไอมะขามป้อม
2 -น้ำดื่ม มะขามป้อม
3 -น้ำมันหมักผมมะขามป้อม+สมอไทย+ดอกอัญชัน
สูตร
๑. ยาแก้ไอมะขามป้อม
(มะขามป้อมมีสารที่มีฤทธิ์แก้ไอ ละลายเสมหะ ควรรักษาต้นเหตุของการไอควบคู่ไปด้วย)
มะขามป้อมแห้ง(มีขายตาม ท้องตลาดทั่วไปเลือกที่สะอาดๆ) ๑๐ ลูก
น้ำเปล่า ๑ ลิตร
วิธีทำ
ต้มให้เดือด กรองเอาแต่น้ำ (ท่านจะแช่มะขามป้อมทิ้งค้างคืนไว้เพื่อทำให้ต้มได้ง่ายขึ้น)
เติมน้ำผึ้ง เกลือ ตามใจชอบ ใช้จิบกินแก้ไอ นอกจากนี้ท่านอาจ เพิ่มชะเอมเทศ สัก ๑ ก้านเพื่อช่วยแต่ง รสหวาน หรืออาจเติมเมนทอล สัก ๒-๓ เกล็ด เพื่อความเย็นชุ่มคอ
๒. น้ำมะขามป้อม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร มีวิตามินซีสูง ช่วยให้ชุ่มคอ ใช้ดื่มแทนน้ำตามต้องการ
๑. มะขามป้อมแห้ง ๕ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๑๐ กิโลกรัม
๓. น้ำสะอาด ๕๐ กิโลกรัม
๔. เกลือ
วิธีทำ
ตั้งน้ำ ๕๐ ลิตร ให้เดือด ใส่ผลมะขามป้อมแห้งเคี่ยว ๒๐ นาที ใส่เกลือและน้ำตาล กรองด้วยผ้าขาวบาง
๓. น้ำมันหมักผมมะขามป้อม-สมอไทย-ดอกอัญชัน
มะขามป้อมแห้ง ๑ กำมือ
สมอไทยแห้ง ๑ กำมือ
ดอกอัญชันแห้ง ๑ หยิบมือ
วิธีทำ
นำมะขามป้อมแห้งและสมอไทยแห้งเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ด้วยไฟอ่อนๆ จนเกรียม เติมดอกอัญชันลงไปเมื่อใกล้ได้ที่ กรองเก็บเอาน้ำมันไว้ชโลมผมก่อนสระล้างด้วยวิธีปกติ ผมจะดกดำนุ่มสลวย

กลุ่มสมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด


สมุนไพรดีดี ขายส่ง สมุนไพรพอกหน้า สมุนไพรแห้ง-บดผง

***ยาห้าราก เทียบเท่ายา"พาราฯ" แต่ไร้ผลข้างเคียง***

***ยาห้าราก เทียบเท่ายา"พาราฯ" แต่ไร้ผลข้างเคียง ครับ
ยาห้าราก หรืออีกชื่อ " ยาแก้วห้าดวง หรือ ยาเบญจโลกวิเชียร"
ยาห้ารากมีประวัติยาวนานนับแต่สมัยพุทธกาล เป็นยาของบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ คัมภีร์ไข้ตักศิลา กล่าวถึงการรักษาอาการไข้ต่างๆกว่าร้อยชนิด ใช้ยาห้ารากเพียงขนานเดียวในการรักษา
สรรพคุณ
ไข้สามฤดู (โรคภูมิแพ้อากาศหรืออีกชื่อหนึ่งโรคภูมิแพ้จมูก มีน้ำมูกใส)
ไข้หวัดน้อย หวัดใหญ่ (ไข้หวัดนก ไข้หวัด 2009)
ไข้กำเดาน้อย กำเดาใหญ่
ไข้หัด ไข้สุกใส ผดผืนคัน
ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้ป่า (ไข้มาลาเรีย)
ภูมิแพ้คัดจมูก ผดผื่นคัน ลมพิษ ฯลฯ
***ยาห้ารากเป็นยาเย็น แก้ไข้ร้อน ในเด็ก ผู้ใหญ่ เป็นยาทำมาจากราก ของสมุนไพร5ชนิด
***ประกอบด้วย รากย่านาง รากมะเดื่ออุทุมพร รากชิงชี่ รากเท้ายายม่อม รากคณฑา นำมาบดผสมกัน อัตราเสมอภาค
***ยาห้ารากนี้ ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติไทย ปี 2549และ ปี 2551
วิธีใช้
ยาชนิดผง
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-1½ ช้อนชา (1-1.5 กรัม) ละลายน้ำสุก 2-4 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6-12 ปี ครั้งละ ½-1 ช้อนชา (500 มิลลิกรัม - 1 กรัม) ละลายน้ำสุก 1–2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
ยาเม็ด
ผู้ใหญ่ครั้งละ 3-5 เม็ด (900 มิลลิกรัม - 1.5 กรัม)วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ6-12 ปี ครั้งละ 2-3 เม็ด (600 – 900 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
****ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง :
ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออกหากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดู หรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน