วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

ขอบชะนางแดง-ขาว

ขอบชะนางแดง-ขาว
สมุนไพรขอบชะนาง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น หญ้ามูกมาย (สระบุรี), ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว ขอบชะนางแดง หนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ภาคกลาง), หญ้าหนอนตาย (ภาคเหนือ), ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เปลือกมืนดิน เป็นต้น
สรรพคุณ : ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
► ต้นและดอก ใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาใส่ปากไหปลาร้าที่มีหนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
► ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
► เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักาษาโรครำมะนาด
► ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด(แดง-ขาว) นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน
► รากนำมาตำให้ละเอียดแช่กับน้ำ ตำใส่น้ำมันพืชให้ใส่ผสมจะช่วยฆ่าเหาได้
สรรพคุณของขอบชะนาง
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ใช้ผลแห้ง โดยใช้สูตรเดียวกับการรักษาอาการปวดท้อง)
ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นฟอง (ใช้ผลแห้ง โดยใช้สูตรเดียวกับการรักษาอาการปวดท้อง)
ยอดอ่อนที่แตกใหม่ นำมากลั่นด้วยไอน้ำ ใช้รักษาอาการปวดหูได้ (ยอดอ่อน)
ผลแห้งนำมาบดเป็นผง แล้วใช้ทายางๆ บริเวณจมูกหรือนำมาใช้อุดฟัน จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ผล)
เปลือกต้นนำมาต้มผสมกับเกลือเค็ม ใช้อมรักษาโรครำมะนาด (โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรอบๆ ฟัน หรือโรคเหงือกอักเสบ) (เปลือกต้น)
เหง้าอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหาร ใช้รับประทานช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้องได้ดี และยังช่วยขับลมในลำไส้ได้อีกด้วย (เหง้าอ่อน)
ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้เหง้าสด นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว แล้วผสมกับมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้ (เหง้าสด)
ช่วยรักษาอาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลขอบชะนางแห้งที่เอาเปลือกออก และพริกหาง ใส่เปลือกอบเชย แปะชุก ตังกุย แล้วนำมาคั่วและบดให้เป็นหยาบๆ โสม แล้วตัดส่วนหัวออก ให้ใช้อย่างละ 15 กรัม หู่จี้ แล้วคั่วให้แตกบดแบบพอหยาบๆ เปลือกส้ม 1 กรัม นำมาแช่กับน้ำและเอาใยสีขาวออก ชวงเจีย คั่วพอให้หอม 1 กรัม แล้วนำทั้งหมดมาบดรวมกันผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาเม็ดขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ใช้รับประทานร่วมกับน้ำขิงครั้งละ 30 เม็ด เมื่อเริ่มมีอาการ (ผลแห้ง)
ทั้งต้น นำมาปิ้งกับไฟแล้วชงกับน้ำเดือด ใช้เป็นยาขับพยาธิในเด็ก (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้เป็นยาขับพยาธิได้เช่นกัน (ใบ)
ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน (ต้นของขอบชะนางทั้งสอง)
เปลือกต้นนำมาหุงกับน้ำมันใช้ทาริดสีดวง (เปลือกต้น)
ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด นำมาปรุงเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนของสตรี ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาขับระดูขาวของสตรี (ต้นของขอบชะนางทั้งสอง)
ช่วยขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการใช้เหง้าสด นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว แล้วผสมกับมะขามเปียกและเกลือใช้รับประทานได้ (เหง้าสด)
ใบนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรี (ใบ)
ต้นมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ต้น)
ใบ ใช้เป็นยาทารักษากลาก (ใบ)
ใช้รักษาเกลื้อน ด้วยการนำเหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วจุ่มลงในเหล้าขาว ใช้ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนเช้าเย็น หรือจะใช้เหง้าแห้ง นำมาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาก็ได้ ส่วนดอกสดก็สามารถนำมาใช้ทารักษาโรคเกลื้อนได้เช่นกัน (เหง้า,ดอกสด)
ใบนำมาตำใช้พอกรักษาฝีและแก้อาการปวดอักเสบ (ใบ)
เปลือกต้น ใช้เป็นยารักษาพยาธิผิวหนัง (เปลือกต้น)
ช่วยแก้พิษต่างๆ (ขอบชะนางทั้งสอง)
ใบใช้เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อได้ (ใบ)
เปลือกต้น ใช้เป็นยาดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น (เปลือกต้น)
น้ำจากใบสดมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)
ข้อมูลจากศูนย์สมุนไพรทักษิณระบุว่าขอบชะนางทั้งสองมีสารที่ช่วยแก้โรคมะเร็งได้ (ขอบชะนางทั้งสอง)
ใบใช้รักษามะเร็งเพลิง รักษามะเร็งลาม (ใบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น