วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

พิลังกาสา


ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย), ตีนจำ (เลย), ลังพิสา (ตราด), ทุรังกาสา (ชมพร), ราม (สงขลา), ปือนา (มลายู-นราธิวาส), พิลังกาสา (ทั่วไป), จิงจ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด, ทุกังสา, มาตาอาแย เป็นต้น
หมายเหตุ : ในพืชวงศ์เดียวกัน “พิลังกาสา” ยังเป็นชื่อพ้องของพรรณไม้อีกหลายชนิด เช่น พิลังกาสาชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia elliptica Thunb ซึ่งในชนิดนี้เราจะเรียกว่า “รามใหญ่” (มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับพิลังกาสามาก และยังมีสรรพคุณทางยาที่เหมือนกันหลายอย่าง และ พิลังกาสาอีกชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardisia colorata Roxb. ชนิดนี้โดยทั่วไปแล้วจะเรียกว่า “มะจ้ำก้อง”
ลักษณะของพิลังกาสา
• ต้นพิลังกาสา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของประเทศญี่ปุ่น และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินเดียภาคใต้[ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบ และมีประปรายอยู่ทั่วไปบ้างว่าพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง
สรรพคุณของพิลังกาสา
1. ผลสุกนำมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน หรือใช้ผง
ยา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำครึ่งแก้วดื่มช่วยบำรุงโลหิต (ผล)
2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ในกองอติสารโรค (ผล)
4. ใบมีรสร้อน สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
5. ใบใช้เป็นยาแก้ลม (ใบ)
6. ช่วยแก้ปอดพิการ (ใบ)
7. ใบและผล มีสรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ,ผล)
8. ดอกใช้เป็นยาแก้พยาธิ (ดอก)
9. รากใช้เป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ราก)
10. ช่วยแก้โรคระดูของสตรี ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน (ผล)
11. ใบใช้เป็นยารักษาโรคตับพิการ (ใบ)
12. รากใช้เป็นยาพอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด แก้พิษงู หรือใช้กากพอกแผล เอาน้ำกิน (ราก)
13. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ (เมล็ด, ผล)
14. ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
15. ต้นใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง (ต้น)
16. ต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน กุฏฐัง (ต้น) ส่วนผลใช้แก้โรคเรื้อน (ผล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น